เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา 2/2557 Topic: Hello the world ยินดีที่ได้รู้จัก
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เพื่อเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้น และเข้าใจความแตกต่างแต่ละประเทศทั่วโลก รวมทั้งเคารพวิถีการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมโลกได้

Week 2


                       เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome







2

37
 พ.ย. 2557

โจทย์
วางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
เครื่องมือคิด
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อโครงงาน
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษสี ขนาดครึ่ง A4
- กระดาษชาร์ต
จันทร์
ชง : ครูให้นักเรียนดูภาพสถานที่แปลกๆ ในประเทศต่างๆ ที่ไม่เคยคิดว่าจะมีในโลก
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสถานที่แปลกๆ เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคน โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดย 1 เรื่องต่อการ์ด 1 แผ่น (Card & Chart )
- นักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่ที่ต้องการเรียนรู้
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (Think pair share)
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และตั้งชื่อหน่วย (Blackboard share)
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะออกแบบการเรียนรู้ใน Quarter 3 นี้ได้อย่างไร?”
ศุกร์
 ใช้ : นักเรียนร่วมกันทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- นักเรียนออกแบบปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์ลงในกระดาษชาร์ต
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
 - การวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามและความคิดเห็นที่ได้ฟัง
- การตั้งชื่อหน่วย
- การวิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
- การออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- เขียน Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

ชิ้นงาน
- หน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้
- ชาร์ตปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
อธิบายการออกแบบกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติตนตามสิทธิ หน้าที่ในการทำงานกลุ่ม รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น
ทักษะ
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานกลุ่ม
ทักษะชีวิต
การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือกันทำงาน
ทักษะการเลือกใช้เครื่องมือ
 การเลือกใช้เครื่องมือคิดที่หลากหลายในกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
 ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
- สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอกระบวนการวางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

        
ข้าว
การเรียนรู้PBL เกี่ยวกับข้าวในสัปดาห์นี้เด็กๆ นักเรียนติดตามผลความคืบหน้าของข้าว

ตรวจวัดความสูง ดูแมลง หรือวัชพืช ที่บ่อปลูกข้าวของนักเรียนแต่ละคน พร้อมนำมาบันทึกผล เขียนวาดภาพประกอบเพื่อให้เห็นความก้าวหน้าของการปลูกรอบที่ 2 เพื่อนำเปรียบเทียบกับการปลูกครั้งที่ 1

และจากนั้นนำผลที่ได้มานำเสนอ สะท้อนปัญหาและหารือกันถึงแนวทางการแก้ไขทุกครั้ง

ยินดีที่ได้รู้จัก
กิจกรรมการวางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้

นักเรียนได้ช่วยกันเขียนเรื่องที่แต่ละคนสนใจอยากเรียนรู้ในQuarterนี้ และเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ของนักเรียนแต่ละคนจากการเขียนคนเดียว แล้วนำสิ่งที่เขียนเหมือนกันจับคู่มาเขียนขมวดสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้ของแต่ละคู่
จากนั้นนักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยโดยพี่พิมพ์ช่วยคุณครูเขียนสิ่งที่เพื่อนเสนอมาให้ จนสุดท้ายได้ชื่อหน่วยในQuarterนี้ ก็คือ  Hello the world ยินดีที่ได้รู้จัก

ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเด็กๆ นักเรียนกับคุณครูช่วยกันออกแบบไว้เสร็จก่อนเวลากำหนด
ในสัปดาห์นี้ครูได้พานักเรียนจับฉลาก เลือกประเทศต่างๆ ดังนี้
ประเทศของเด็ก
ครูป้อม – เคนยา
ครูณี – โมร๊อกโค
หลุยส์ – กรีนแลนด์
เบ้น – อิสราเอล
ชาติ – ไอร์ซแลนด์
ไก่ – ฟิจิ
ดิว – เนปาล
ไข่มุก – อินเดีย
โฟร์ท – ฝรั่งเศส
ตุ๊กตา – เปรู
ออดี้ – อียิปต์
อุ้มจุ้ย – สาธารณรัฐเช็ค
ชาร์ป – เยเมน
อ้อแอ้ – อาร์เจนตินา
โอ๊ต – คิวบา
เดียร์ – นิวซีแลนด์
เหน่ง – ชิลี
เอิร์น – รัสเชีย

พิมพ์ – โปรตุเกต

มาในสัปดาห์นี้ครูจึงให้โจทย์นักเรียนแต่ละคน “ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม”




นักเรียนแต่ละคนให้ออกแบบชิ้นงานของตัวเองในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น Pop-up, การ์ตูนช่อง, mind mapping, ชาร์ตความรู้, power point, คลิป ฯลฯ
จากนั้นทุกคนสืบค้นหาข้อมูล และมาเริ่มแชร์กันเพื่อให้เพื่อนรับทราบถึงหัวข้อโครงงานต่าง ก่อนชั่วโมงสุดท้ายนักเรียนเตรียมนำเสนอชิ้นงานต่าง ครูณีช่วยแนะนำรูปแบบการนำเสนอ ก่อนให้นักเรียนแต่ละคนไปหารูปแบบการถ่ายทอดการเรียนรู้ของประเทศตนเองให้คุณครูและเพื่อนๆ เข้าใจง่ายที่สุด

ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะแยกย้ายทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2

สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2


แก่นเรื่องในการสรุปสัปดาห์ที่ 1 Q.3 ของพี่ตุ๊กตานักเรียนชั้น ม.1
วางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ – หน่วยต่างประเทศ

ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ของนักเรียน
- การนำเสนอข้อมูล : การที่นักเรียนมีหัวข้อที่ตนเองสนใจ ทุกคนต้องได้นำเสนอภาระงานที่ตนเองเขียน แล้วเพื่อนๆ ทุกคนก็รับฟัง พร้องเสนอของแต่ละคน ก่อนเลือกชื่อหน่วยโครงงาน
- การวางแผนการทำงาน: พี่ตุ๊กตากับเพื่อนๆ ช่วยกันออกแบบชาร์ตสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้ กับการเขียนปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์(PBL)
- การทำงานร่วมกัน: เพื่อนๆ ทุกคนกับพี่ตุ๊กตาร่วมกันกันออกแบบชาร์ตสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้ กับการเขียนปฏิทินการเรียนรู้รายสัปดาห์(PBL) และติดตกแต่งบรรยากาศชั้นเรียน


คุณลักษณะ : พี่ตุ๊กตาช่วยครูและเพื่อนๆ เขียนออกแบบวางแผนการเรียนรู้ ทำภาระงานเสร็จเรียบร้อย ช่วยกันกับเพื่อนๆ เก็บสี ปากกา กระดาษชาร์ต อย่างเรียนร้อย และดูแลต้นข้าว วัดขนาดความสูง บันทึกความคืบหน้าทุกๆ สัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. การเรียนรู้PBL เกี่ยวกับข้าวในสัปดาห์นี้เด็กๆ นักเรียนติดตามผลความคืบหน้าของข้าว

    ตรวจวัดความสูง ดูแมลง หรือวัชพืช ที่บ่อปลูกข้าวของนักเรียนแต่ละคน พร้อมนำมาบันทึกผล เขียนวาดภาพประกอบเพื่อให้เห็นความก้าวหน้าของการปลูกรอบที่ 2 เพื่อนำเปรียบเทียบกับการปลูกครั้งที่ 1

    และจากนั้นนำผลที่ได้มานำเสนอ สะท้อนปัญหาและหารือกันถึงแนวทางการแก้ไขทุกครั้ง

    ยินดีที่ได้รู้จัก
    กิจกรรมการวางแผนและออกแบบกระบวนการเรียนรู้

    นักเรียนได้ช่วยกันเขียนเรื่องที่แต่ละคนสนใจอยากเรียนรู้ในQuarterนี้ และเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ ของนักเรียนแต่ละคนจากการเขียนคนเดียว แล้วนำสิ่งที่เขียนเหมือนกันจับคู่มาเขียนขมวดสิ่งที่รู้แล้ว และสิ่งที่อยากเรียนรู้ของแต่ละคู่
    จากนั้นนักเรียนช่วยกันตั้งชื่อหน่วยโดยพี่พิมพ์ช่วยคุณครูเขียนสิ่งที่เพื่อนเสนอมาให้ จนสุดท้ายได้ชื่อหน่วยในQuarterนี้ ก็คือ Hello the world ยินดีที่ได้รู้จัก


    ซึ่งกระบวนการดังกล่าวเด็กๆ นักเรียนกับคุณครูช่วยกันออกแบบไว้เสร็จก่อนเวลากำหนด
    ในสัปดาห์นี้ครูได้พานักเรียนจับฉลาก เลือกประเทศต่างๆ ดังนี้
    ประเทศของเด็ก


    ครูป้อม – เคนยา
    ครูณี – โมร๊อกโค
    หลุยส์ – กรีนแลนด์
    เบ้น – อิสราเอล
    ชาติ – ไอร์ซแลนด์
    ไก่ – ฟิจิ
    ดิว – เนปาล
    ไข่มุก – อินเดีย
    โฟร์ท – ฝรั่งเศส
    ตุ๊กตา – เปรู
    ออดี้ – อียิปต์
    อุ้มจุ้ย – สาธารณรัฐเช็ค
    ชาร์ป – เยเมน
    อ้อแอ้ – อาร์เจนตินา
    โอ๊ต – คิวบา
    เดียร์ – นิวซีแลนด์
    เหน่ง – ชิลี
    เอิร์น – รัสเชีย

    พิมพ์ – โปรตุเกต

    มาในสัปดาห์นี้ครูจึงให้โจทย์นักเรียนแต่ละคน “ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม”

    นักเรียนแต่ละคนให้ออกแบบชิ้นงานของตัวเองในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น Pop-up, การ์ตูนช่อง, mind mapping, ชาร์ตความรู้, power point, คลิป ฯลฯ
    จากนั้นทุกคนสืบค้นหาข้อมูล และมาเริ่มแชร์กันเพื่อให้เพื่อนรับทราบถึงหัวข้อโครงงานต่าง ก่อนชั่วโมงสุดท้ายนักเรียนเตรียมนำเสนอชิ้นงานต่าง ครูณีช่วยแนะนำรูปแบบการนำเสนอ ก่อนให้นักเรียนแต่ละคนไปหารูปแบบการถ่ายทอดการเรียนรู้ของประเทศตนเองให้คุณครูและเพื่อนๆ เข้าใจง่ายที่สุด

    ก่อนที่นักเรียนทุกคนจะแยกย้ายทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2

    ตอบลบ