เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของแต่ละประเทศที่น่าสนใจให้ผู้อื่นรับทราบและเข้าใจได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
4
17 – 21
พ.ย. 2557
|
โจทย์
ประวัติศาสตร์
Key Questions
-
นักเรียนคิดว่าแต่ละประเทศที่ตนเองศึกษา มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร
และจะนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่ามีกี่เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
ส่งผลต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
- นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- นำเสนอชิ้นงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
Wall thinking
- ติดชิ้นงานชิ้นงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษ ชาร์ต
- แผนที่
- อินเตอร์เน็ต
|
จันทร์
ชง : ครูเปิดคลิปวิดีโอโชซอนโบราณ ให้นักเรียนดู
เชื่อม : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากสิ่งที่ได้ดู”
-
นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่ได้ดู
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าแต่ละประเทศที่ตนเองศึกษา
มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร และจะนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและสืบค้นข้อมูล
พุธ
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนออกแบบชิ้นงานเพื่อนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลที่คิดศึกษาในรูปแบบต่างๆ
ตามความสนใจ(Model, เพลง, ชาร์ต, รายงาน, การ์ตูนช่อง, power point ฯลฯ)
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอชิ้นงาน
-
ครูและนักเรียนร่วมอภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการนำเสนอ
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
“นักเรียนคิดว่ามีกี่เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
ส่งผลต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันอย่างไร”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและเขียนแสดงความคิดเห็นในรูปแบบของบทความ
-
นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ภาระงาน
- การสืบค้นข้อมูลประวัติศาสตร์
-
การนำเสนอข้อมูลประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- การเขียนบทความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์
ที่ส่งผลต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน
-
การนำเสนอชิ้นงานบทความ
ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกเล่มเล็ก
- บทความ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของแต่ละประเทศที่น่าสนใจให้ผู้อื่นรับทราบและเข้าใจได้
ทักษะ
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- ทักษะการเรียนรู้
- สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลและสร้างสรรค์ชิ้นงานจากสื่อเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติต่อหลักสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- การอธิบายตำแหน่งและสถานที่ตั้งของประเทศที่ใช้เป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
|
ในสัปดาห์นี้เด็กๆ
ทุกคนได้รับโจทย์กระตุ้นการคิดจากครู คือ “นักเรียนคิดว่าแต่ละประเทศที่ตนเองศึกษา
มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร และจะนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?”
ทุกคนต่างสืบค้นหาข้อมูลเพื่อมาสร้างชิ้นงานไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
๑๗ ประเทศ
สืบค้นจากหนังสือเปิดเลนส์ส่องโลก
ของ ดร.นิติภูมิ เนาวรัตน์ ที่เล่าถึงเหตุการณ์สำคัญๆของโลกที่ผ่านๆ มา
ที่เขาเข้าไปทำรายการออกสารคดี , บางคนสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด , หรือบางก็คอมฯ
ทุกคนจะเลือกอย่างน้อย
๕ เหตุการณ์สำคัญๆ ของประเทศนั้นมาเล่าถ่ายทอดให้เพื่อนๆ คุณครูรับฟัง
-
ใคร / อะไรเป็นประเด็นสำคัญในเหตุการณ์ครั้งนี้
-
เหตุการณ์มีความสำคัญอย่างไร ในขณะปีนั้น
-
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร ในประเทศนั้น
ชิ้นงานไทม์ไลน์ของเด็กๆ
ยังไม่เสร็จทันเวลา เนื่องมาจากเด็กๆ ได้ช่วยทางโรงเรียนฯ เกี่ยวข้าว ๒
วันติดในช่วงเช้า เป็นชั่วโมงเรียนวิชาPBL ครูจึงช่วยให้นักเรียนรู้เรื่องนี้อีก
๑ สัปดาห์อีก
เพื่อให้ทุกคนไปทบทวนช่วงวันหยุด
และนำเสนอข้อมูลในสัปดาห์ถัดไป..
ข้าวสินเหล็ก
๔ เมล็ด
ในสัปดาห์นี้เกิดการเปลี่ยนแปลง
โดยที่ทางโรงเรียนฯ มีพนักงานเหลือน้อย เด็กๆ แบ่งหน้าที่กันรดน้ำต้นไม้
และเติมน้ำใน
จากบันทึกของพี่เบ้น
จากบันทึกของพี่เบ้น
ต้นแรก ๗๐ ซม.
ต้นสอง ๖๐ ซม.
ต้นสาม ๖๐ ซม.
ต้นสี่ ๕๐ ซม.
อากาศเริ่มหนาวเย็นขึ้น
ทำให้ดินแห้งเร็วขึ้น
เพื่อนต้องช่วยกันเติมน้ำ
แก่นเรื่องในการสรุปสัปดาห์ที่
4 Q.3 ของพี่เดียร์นักเรียนชั้น ม.1
ประวัติศาสตร์
ทักษะที่เกิดขึ้น
ครูวิเคราะห์จากกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ของนักเรียน

- การแก้ปัญหา : ระหว่างที่ได้ข้อมูลมา
แลกเปลี่ยนความเข้าใจกับครู พี่เดียร์ต้องใช้ความรู้ที่ตนเองสืบค้นมาตอบปัญหา
และขมวดคำให้กระซับและเข้าใจง่ายที่สุด กับคุณครูและสิ่งที่เพื่อนๆ สงสัยสอบถามแลก
- การนำเสนอข้อมูล: ก่อนส่งชิ้นงานไทม์ไลน์พี่เดียร์และเพื่อนๆ
ต้องได้นำเสนอข้อมูลต่อผู้อื่น และเพื่อนๆช่วยกันตรวจสอบความเข้าใจต่างๆ
ของประเทศเพื่อนๆ แล้วหาความเชื่อมโยงที่เข้าสู่ประเทศที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่
-
ทักษะชีวิต :
การได้ช่วยเหลือผู้อื่นในการทำงาน
การดูแลอาคารสถานที่ รดน้ำต้นข้าวดูแลบันทึกผลสม่ำเสมอ
ช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างพี่เดียร์กับเพื่อนๆ
- การทำงานร่วมกัน: พี่เดียร์และเพื่อนๆ
ได้ดูแลต้นข้าว ทำงานดูแลระดับน้ำช่วยกัน พร้อมกับบันทึกความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์
ก่อนจะนำแต่ละประเด็นมาพูดคุยกัน
คุณลักษณะ : พี่เดียร์ยังช่วยเพื่อนๆ
ทำภาระงานต่างๆ ชิ้นงานของเพื่อนที่ยังไม่เสร็จ ช่วยอธิบายความเชื่อมโยง
และเขียนบล็อกถ่ายทอดเรื่องราวของตนเอง ให้ผู้อื่นรับรู้อีกช่องทางหนึ่ง
ครูก็ได้ทราบเรื่องราวทางบ้านที่พี่เดียร์เข้ามาปรึกษา
แก่นเรื่องในการสรุปสัปดาห์ที่ 4 Q.3 ของพี่เดียร์นักเรียนชั้น ม.1
ตอบลบประวัติศาสตร์
ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ของนักเรียน
- การเก็บรวบรวมข้อมูล / การจัดกระทำข้อมูล: พี่เดียร์ได้สืบค้นหาข้อมูลประเทศนิวซีแลนด์ที่เลือกได้ สืบค้นจากหลากหลายแหล่งข้อมูล อาทิเช่น หนังสือ, คอมฯ, ห้องสมุด และปรึกษาผู้รู้ครูจุลซึ่งเคยไปที่ประเทศดังกล่าวมาก่อนหน้านี้ แล้วพี่เดียร์จัดกระทำข้อมูลให้ตนเองและผู้อ่านได้เข้าใจง่ายที่สุด ก่อนสร้างชิ้นงานผ่านไทม์ไลน์ประวัติศาสตร์ 5 เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
- การแก้ปัญหา : ระหว่างที่ได้ข้อมูลมา แลกเปลี่ยนความเข้าใจกับครู พี่เดียร์ต้องใช้ความรู้ที่ตนเองสืบค้นมาตอบปัญหา และขมวดคำให้กระซับและเข้าใจง่ายที่สุด กับคุณครูและสิ่งที่เพื่อนๆ สงสัยสอบถามแลก
- การนำเสนอข้อมูล: ก่อนส่งชิ้นงานไทม์ไลน์พี่เดียร์และเพื่อนๆ ต้องได้นำเสนอข้อมูลต่อผู้อื่น และเพื่อนๆช่วยกันตรวจสอบความเข้าใจต่างๆ ของประเทศเพื่อนๆ แล้วหาความเชื่อมโยงที่เข้าสู่ประเทศที่ตนเองกำลังศึกษาอยู่
- ทักษะชีวิต : การได้ช่วยเหลือผู้อื่นในการทำงาน การดูแลอาคารสถานที่ รดน้ำต้นข้าวดูแลบันทึกผลสม่ำเสมอ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างพี่เดียร์กับเพื่อนๆ
- การทำงานร่วมกัน: พี่เดียร์และเพื่อนๆ ได้ดูแลต้นข้าว ทำงานดูแลระดับน้ำช่วยกัน พร้อมกับบันทึกความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ก่อนจะนำแต่ละประเด็นมาพูดคุยกัน
คุณลักษณะ : พี่เดียร์ยังช่วยเพื่อนๆ ทำภาระงานต่างๆ ชิ้นงานของเพื่อนที่ยังไม่เสร็จ ช่วยอธิบายความเชื่อมโยง และเขียนบล็อกถ่ายทอดเรื่องราวของตนเอง ให้ผู้อื่นรับรู้อีกช่องทางหนึ่ง ครูก็ได้ทราบเรื่องราวทางบ้านที่พี่เดียร์เข้ามาปรึกษา